วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ขั้นตอนในการพัฒนาระบบสารสนเทศ โซ่พิสัยNew


    1.สำรวจเบื้องต้น
มีการเผยแพร่ข่าวเกี่ยวกับอำเภอโซ่พิสัยเป็นคนแรกในการพัฒนาระบบสารสนเทศของ Twitter, Blogger และ Youtube  ส่วนเพจ มีหลายเพจที่ตั้งขึ้นมาเพื่อเผยแพร่ข่าวของอำเภอโซ่พิสัย
-ปัญหา คือ ในเขตของอำเภอโซ่พิสัยไม่ค่อยมีเหตุการณ์หรือข่าวเพียงพอต่อการนำมาเขียนข่าวได้
- การคาดคะเน  ระบบสารสนเทศของอำเภอโซ่พิสัยมีทิศทางที่จะพัฒนาต่อไปและสามารถเป็นประโยชน์ต่อชาวบ้านในอำเภอโซ่พิสัยในภายภาคหน้า
2         2.วิเคราะห์ความต้องการ
ต้องการนำเสนอข่าวให้ชาวบ้านในเขตอำเภอโซ่พิสัยหรือพื้นที่ใกล้เคียงได้รับรู้ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นรวมถึงสร้างความเข้าใจในด้านการรับข้อมูล ข่าวสารโดยทั่วกัน
-การใช้งานด้านเพจ (Facebook) มีคนให้ความสนใจมากพอสมควร การเผยแพร่ข่าวถือว่าประสบความสำเร็จ
                       ข้อเด่น : ง่ายต่อการใช้งาน มีพื้นที่การเขียนข่าวได้เยอะ มีทั้งภาพประกอบ หรือจะทำคลิป                                      ข้อมูลเคลื่อนไหวจากยูทูปมาลงได้
                       ข้อด้อย :  บางครั้งคนไม่ค่อยสนใจจะอ่านข่าว ดูแค่ผ่านๆแต่ไม่ได้กดถูกใจ
-การใช้งานด้าน  Twitter  พื้นที่การเขียนข่าวสั้น  กระชับ  เหมาะแก่การนำเสนอข่าวในเวลารีบเร่ง และทำให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย                                                                                               ข้อเด่น : การเขียนข่าวสั้น กระชับ ชัดเจน
         ข้อด้อย : เมื่อเขียนข่าวผิดต้องลบออกอย่างเดียว  แก้ไขไม่ได้
-การใช้งานด้าน  Blogger  มีความเป็นระเบียบ ลำดับขั้นตอน สามารถแก้ไขข้อมูลได้เมื่อเกิดการผิดพลาด
        ข้อเด่น : การตกแต่งหน้าบล็อกได้ ทั้งรูปภาพ เสียง วีดีโอ
        ข้อด้อย : ยากต่อเข้าถึงต้องคลิกไปเรื่อยๆเพื่อเข้าในส่วนต่างๆ
-การใช้งาน  Youtube  ผู้คนให้ความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะมีทั้งภาพและเสียงในเวลาเดียวกัน
        ข้อเด่น : ดึงดูดความสนใจจากผู้พบเห็นได้ดี
        ข้อด้อย : โฆษณามาคั่นเวลาเยอะเกินไป
3           3. ออกแบบระบบ
             การแสดงผลลัพธ์ 
   1. ออกแบบการแสดงข้อมูลบนจอภาพดูเรียบง่าย  ไม่ซับซ้อน
   2. สำหรับข้อมูลบางอย่างต้องการเน้นให้เห็นความแตกต่าง ใช้สีที่แตกต่างออกไปจากปกติ เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ใช้ระบบ
   3. การนำเสนอในรูปแบบของตาราง กราฟ  รูปภาพหรือเสียง
 การป้อนข้อมูล
   1. มีการตรวจสอบข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนว่าถูกต้องหรือไม่
   2. ความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
   3. รูปแบบที่ป้อนตรงตามที่กำหนดหรือไม่
   การเก็บรักษา
    1. การนำข้อมูลมาบันทึกเก็บไว้ในสื่อบันทึกต่างๆ เช่น  แผ่นบันทึกข้อมูล
    2. การสำเนาข้อมูลเพื่อเก็บรักษาไว้
   การปฏิบัติงาน
    1.วางแผนกลยุทธ์และกำหนดเป้าหมายในการดำเนินงาน
    2. วิเคราะห์สาเหตุและปัญหาของระบบ
   บุคลากร
   1. ผู้ใช้งาน คือ ผู้ที่นำสารสนเทศไปใช้
   2.  ผู้ปฏิบัติงาน  คือ ผู้ที่นำข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์
   3.  ผู้ควบคุมระบบและพัฒนาโปรแกรม คือ  ผู้ควบคุมฮาร์ดแวร์ เช่น  ควบคุมคอมพิวเตอร์ให้    ทำงานได้อย่างราบรื่น
       4.   จัดหาอุปกรณ์
     1. การจัดซื้อโปรแกรม aplication สำเร็จรูป วิธีนี้เหมาะแก่ผู้ที่มีทุนเยอะต้องการความสะดวก          สบาย
     2. จัดทำระบบสาระสนเทศเอง วิธีนี้เหมาะแก่ผู้ที่มีทุนน้อย แต่ข้อเสียคือ ต้องมีความรู้เกี่ยวกับ      ระบบที่จัดทำ  เพราะถ้าไม่มีก็ไม่สามารถประเมินได้ระบบที่จัดทำจะสำเร็จหรือไม่ ,ใช้เวลา        นาน
     3. outsourec จ้างตามความต้องการ โดยการจัดหาระบบสารสนเทศประเภทนี้จำเป็นต้องหาผู้      เชี่ยวชาญมาออกแบบระบบให้ และจะตรงกับความต้องการของผู้จัดจ้าง และไม่มีปัญหาใน  การใช้งาน        
       5.  ติตตั้งและบำรุงรักษา
  การติดตั้งระบบ
1. การกำหนดตารางเวลา ประเมินโปรแกรม
2. การใส่รหัสโปรแกรมหรือการเขียนโปรแกรม
3. การฝึกอบรมผู้ใช้
4. การสับเปลี่ยนระบบ
   การบำรุงรักษา
1.ให้มีความถูกต้องเสมอ
2.ปรับเปลี่ยนตามความเปลี่ยนแปลง
3.ให้ระบบทำงานมีประสิทธิภาพสูงสุด
4. เพื่อการป้องกัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น